top of page

สรุปองค์ความรู้ภาษาไทย

 ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจําชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการ ติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทําให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดํารงชีวิตรวมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ความคิด วิเคราะห์วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตลอดจนนําไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและ เศรษฐกิจนอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไวเป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ําค่า ภาษาไทยจึง เป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ ชาติไทยตลอดไป

        สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่เป็นองค์ ความรู้ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ประกอบด้วย

                    สาระที่ ๑ การอ่าน

                    สาระที่ ๒ การเขียน

                    สาระที่ ๓ การฟัง การดูและการพูด

                    สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา

                    สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม


            มาตรฐานการเรียนรู้

    มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๗  มาตรฐานการเรียนรู้ เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มภาษาไทย ประกอบด้วย

    สาระที่ ๑ : การอ่าน

    มาตรฐานที่ ๑.๑ :ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหา และสร้างวิสัยทัศน์ ในการดําเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

    สาระที่ ๒ : การเขียน

    มาตรฐานที่ ๒.๑ : ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

    สาระที่ ๓ : การฟัง การดูและการพูด

    มาตรฐานที่ ๓.๑ : สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

    สาระที่ ๔ : หลักการใช้ภาษา

    มาตรฐานที่ ๔.๑ : เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

    มาตรฐานที่ ๔.๒: สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้เสริมสร้างลักษณะนิสัยบุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาชีพ สังคม และ ชีวิตประจําวัน

    สาระที่ ๕ : วรรณคดีและวรรณกรรม

    มาตรฐานที่ ๕.๑ : เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนํามาประยุกตใช้ในชีวิตจริง

bottom of page